ยุคนี้เราเรียกกันว่ายุคดิจิตอล (ขออภัยบางครั้งที่ผมใช้คำว่าดิจิทอล) อะไร ๆ ก็ดิจิตอลไปหมดตั้งแต่ในห้องนอนห้องน้ำไปจนถึงที่ทำงานหรือตามถนนหนทางอยู่บนฟ้า เขาใช้ดิจิตอลกันมาช่วยให้เกิดความสะดวกแทนของเดิมๆ ที่มีอยู่ ดิจิตอล เป็นเรื่องของตัวเลข 0 กับเลข 1 นะครับ(เป็นเรื่องสมมุติ)กรณีภาพถ่ายดิจิตอล ก็คือภาพจะถูกบันทึกอยู่ในแบบ การเข้า เป็นระหัส 0 กับ 1 ....ขอข้ามไปยังงานของเราที่ง่าย ๆ ดีกว่า ท่านที่มีภาพถ่ายแบบดิจิตอล(แน่นอนว่า ท่านจะต้องเก็บไว้ไม่ที่ใดก็ที่หนึ่งคือ 1)Disket หรือ floppy disk, 2)Fash memory หรือ Memory stick หรืออาจเรียกเป็นอย่างอื่น, 3)Hard disk , 4)Compac disc หรือที่เก็บไว้ในแผ่นซีดีอันดับแรกให้เราพิจารณาภาพถ่ายดิจิตอล ที่ท่านมีอยู่ (ในแหล่งเก็บนั้น) ว่าเป็นภาพขนาดใด อันดับแรกเราต้องรู้ขนาดของภาพที่มีอยู่ ว่ากว้าง (Width) x สูง(Heigth) เท่าไร ตัวนี้สำคัญเราจะต้องทำภาพนิ่งที่จะเอาไปใช้ ให้มีขนาดที่เหมาะสม ถ้าภาพเล็กไปเราก็จะต้องทำ ให้ใหญ่ขึ้น ถ้าภาพใหญ่ไปเราก็จะต้องทำให้ภาพเล็กลง ส่วนขนาดที่เหมาะสมคือเท่าใด กว้างเท่าใด สูงเท่าใด จะได้อธิบายต่อไป โปรแกรมที่เห็นด้านซ้ายมือนี้ จะเป็นโปรแกรมที่เราใช้ในการแต่งภาพ โดยเราจะแต่งภาพได้ 2 อย่างอย่างแรกคือใช้ย่อหรือขยายภาพให้ได้ขนาดที่ต้องการอย่างที่สอง ใช้แต่งภาพให้สวยงามไม่มืดเกินไปหรือสว่างเกินไป หรือแต่งให้มีสีสันสวยงามก็ได้ขนาดของภาพดูได้อย่างไร ? ขออธิบายสำหรับท่านที่อาจไม่รู้ นิดหน่อย เปิดโปรแกรม Windows Explorer ขึ้นมา(ที่ปุ่ม Start คลิกขวา เลือก "สำรวจ" หรือ Explorer ) เพื่อคลิกหาแหล่งที่เก็บ File ภาพ หาที่เก็บ(Folder)ภาพพบแล้ว ว่ามีกี่ไดรว์ อยากรู้ว่าในแต่ละไดรว์มีกี่โฟลเดอร์ ให้คลิกที่เครื่องหมายบวกหน้าไดรว์ แล้วชื่อของโฟลเดอร์ และโฟลเดอร์ต่าง ๆก็จะโชว์ขึ้นมาอย่างเป็นระเบียบ ท่านเก็บภาพที่โฟลเดอร์ไหน...... ให้คลิกที่โฟลเดอร์นั้น เพื่อเปิดออกมา จะเห็นไฟล์ภาพที่เก็บไว้ข้อมูลสำคัญขนาดของภาพที่ใช้ในการทำแผ่นซีดี(Frame Size)1.ภาพมาตรฐาน ของ DV (DIGITAL VIDEO)แบบมาตรฐาน(SD หรือ STANDARD DEFINITION) กว้าง คูณ สูง หรือ Width * Height ในระบบโทรทัศน์ต่าง ๆ ดังนี้PAL = 720*576-25FPSNTSC = 720* 480 - 29.970FPS2.ขนาดภาพวีซีดี Video CD ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีนะครับว่าคุณภาพพอดูได้ หรือพูดอีกอย่างก็ได้ว่า แย่ที่สุดกว่าแบบอื่น ๆ ในกระบวนการนำไปดู ถึงแม้จะใช้เวลาน้อย ทำได้รวดเร็ว ต้นทุนต่ำมาก ก็ไม่อยากแนะนำ มีขนาดภาพสำหรับดูในทีวีระบบต่าง ๆ ดังนี้PAL Video CD (352x288, 25.000 fps)NTSC Video CD (352x240, 29.970 fps)3.ภาพมาตรฐาน ของ HDV หรือ Hight Difinition VideoPAL = ตั้งแต่ 720*576 ถึง 1920*1080NTSC = ตั้งแต่ 720* 480 ถึง 1920*1080ขนาดภาพ DV ที่เรา Set ค่าใน Timeline เป็นขนาดมาตรฐานของ AVI ที่สามารถนำไปทำแผ่น วีซีดี หรือจะทำแผ่น ดีวีดี ก็ได้ภาพที่ดีเยี่ยม แม้จะใช้เวลาในการเข้ารหัสนานหน่อย ในการ ลดขนาดลงไปทำแผ่นวีซีดี แต่เราก็ยังมองเห็นประโยชน์ในการนำไปทำ แผ่นแบบอื่นได้เมื่อรู้ขนาดภาพแล้ว หากจะต้องขยายหรือย่อให้เปิดโปรแกรม Photoshopขอแนะนำให้ท่านขยายขนาดภาพ(หากภาพเล็กกว่าที่ต้องการ) หรือลดขนาดภาพ(ที่ใหญ่เกินไปมากๆ) ให้เปิดโปรแกรม Photoshop ขึ้นมาใช้ (ปกติแล้วภาพนิ่งที่ถ่ายมา ถ้าจะให้ชัวร์ จะต้องเปิดดู ด้วย Photoshopอยู่แล้ว เพราะจะได้ปรับความสว่างของภาพ(Brightness) ความคมของภาพ(Contrast) ปรับ สีสัน(Colors)พร้อมๆกับปรับขนาดของภาพให้มีขนาดตามที่เราต้องการ........ก่อนที่จะนำมาใช้ นี่แหละครับคือสิ่งที่จะต้องทำ เพื่อคุณภาพงานเมื่อเปิดโปรแกรมเรียบร้อยแล้วให้ทำการ "เปิดไฟล์ภาพเข้ามา" โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ตามภาพครับ1.คลิกที่ File2.เลื่อนมาคลิกที่ Open3.รอสักครู่จะมีหน้าต่างเล็ก ๆ เปิดมาให้เราเลือกว่าจะเอาภาพจากที่ใด ภาพใดบ้างภาพนี้เป็นหน้าต่างเล็กๆ ที่เปิดออกมา ให้เราเลือกที่เก็บภาพ (Drive - Folder) เมื่อคลิกไปจนเจอที่อยู่ เจอภาพแล้ว ก็คลิกเอาภาพอาจมีเทคนิคบ้าง คือ1.หากเอาเพียงภาพเดียวก็ คลิกที่ชื่อภาพ คลิกที่ Open2.หากต้องการหลายภาพแบบเลือกทีละภาพก็ให้ใช้นิ้วกดที่ปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกที่ชื่อภาพทีละภาพเฉพาะที่ต้องการไปจนเสร็จ จะกี่ภาพก็ได้ แล้ววางมือ มาคลิก Open3.หากจะเลือกเป็นกลุ่มๆ ก็ให้คลิกที่ชื่อภาพแรก แล้วกดปุ่ม Shift ค้างไว้ ตามมาด้วยการคลิกที่ชื่อภาพสุดท้าย แล้วก็วางมือ คลิก Openตอนนี้ภาพได้เข้ามาในพื้นที่ทำงานเรียบร้อยแล้ว-ขั้นที่ 1. ให้ตรวจสอบขนาดของภาพ (โดย คลิกเม้าท์ขวาที่ขอบของภาพ - เลือกคลิกที่ Images Size...จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างบอกขนาของภาพ )หน้าต่างเล็ก ๆ บอกขนาดของภาพตามหมายเลข 1 คือขนาดกว้าง จะพบว่าภาพนี้กว้าง 1280 สูง 960 (หรือ 1280*960)แต่เราต้องการภาพขนาด 1440 *1152(ตามที่อ้างไว้ในตอนที่ผ่านมา) จึงให้เราเปลี่ยนค่านี้ใหม่ซึ่งจะกลายเป็นการขยายภาพ ขั้นที่ 2. ให้ย่อ หรือขยายขนาดของภาพ การย่อหรือขยายภาพเราต้องคำนึงถึงสัดส่วน ต้องให้ได้สัดส่วนไม่ว่าจะกว้างหรือสูงจะต้องได้สัดส่วนเสมอ จึงให้คลิกที่ Constrain Proportion (ตามหมายเลข 2) เราจะเห็นว่าอัตราส่วนของภาพที่เราต้องการกับภาพถ่ายไม่ตรงกันอย่าไปพิมพ์ 1440 และ 1152 เป็นอันขาด ให้เลือกเอาเพียงด้านเดียวก็พอ เช่นเอาด้านกว้าง 1440 ด้านสูงจะเป็นเท่าไรมันจะได้สัดส่วนกันเสมอเพราะเรากาเลือกไว้แล้ว สังเกตได้จากรูปโซ่ล่ามไว้ระหว่างช่องบนและช่องล่างขั้นที่ 3. ให้จัดเก็บภาพไว้ด้วยคุณภาพสูงสุด (ความจริงแล้วในขั้นตอนที่ 2 เราอาจต้องปรับภาพให้สว่าง ให้เข้ม ปรับสี ซึ่งเป็นขั้นตอนเดียวกันให้เสร็จ)พอเราปรับภาพไดขนาดที่ต้องการ(เพียงด้านใดด้านหนึ่งก็พอ ขอให้ได้สัดส่วน) จากนั้นให้ Save ไฟล์ไว้ โดยคลิกปิดภาพ(ที่กากบาดแดงมุมขวาบนภาพ) โปรแกรมจะบอกว่าภาพมีการเปลี่ยนแปลงท่านจะเอาหรือไม่- ให้ตอบ YES แล้วจะมีหน้าต่างเล็กๆ ดังภาพขวามือนี้เพื่อให้ท่านเลือก "ระดับคุณภาพ" ของภาพที่จะจัดเก็บ ให้เลือกสูงสุด คือ 12 หรือเลื่อนปุ่ม Slidebar ไปขวาสุด - แล้วก็คลิก OK เป็นอันเสร็จ
การเปิดใช้งานโปรแกรม
http://tpktokan.blogspot.com/
การใช้งานโปรแกรม
http://pon-on.blogspot.com/
วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ความบันเทิงกับสื่อมัลติมีเดีย
"มัลติมีเดีย (Multimedia) หรือ สื่อหลายแบบ" เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ สามารถผสมผสานกันระหว่าง ข้อความ ข้อมูลตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ไว้ด้วยกัน ตลอดจน การนำเอาระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน
ประโยชน์ของมัลติมีเดีย
มัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากยิ่งขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้
- เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
- นำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เช่น บทเรียนมัลติมีเดีย
- สร้างสื่อเพื่อความบันเทิง
- สร้างสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์
- นอกจากประโยชน์ดังกล่าว เทคโนโลยีมัลติมีเดีย ยังมีบทบาทต่อ
เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
เนื่องจากมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีของสื่อหลากหลายสื่อ ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้
เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง (Audio Technology) ซึ่งรวมทั้งเสียงพูด และเสียงดนตรี ตั้งแต่การประมวลผล การแสดงผล การจัดการต่างๆ เช่น การบีบอัดสัญญาณ การสื่อสาร การส่งสัญญาณ
เทคโนโลยีเกี่ยวกับวีดิโอ (Video Technology) อันได้แก่ การจัดเก็บ การประมวลผล การปรับแต่ง การใช้งาน การเรียกหา สืบค้น การส่งกระจาย มาตรฐานการบีบอัดสัญญาณ การเข้าและถอดรหัส การส่งข้อมูล การทำงานร่วมกับสื่ออื่นๆ
เทคโนโลยีรูปภาพ (Image Technology) เป็นการพัฒนา และประยุกต์ใช้ภาพ การจัดการฟอร์แมต คลังภาพ การค้นหา การสร้าง และตกแต่งภาพ
เทคโนโลยีข้อความ (Text Technology) เกี่ยวกับข้อความหรือ ตัวอักษร ทั้งการใช้ และลักษณะรูปแบบของ ข้อความแบบต่างๆ
เทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ (Animation & 3D Technology) เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการแสดงผล ด้นภาพเคลื่อนไหว ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ การสร้างภาพเสมือนจริง (VR - Visual Reality) การสร้าง ตกแต่ง ประมวลผล การใช้งาน
เทคโนโลยีการพัฒนา (Authoring System Technology) คือ เทคโนโลยีที่ได้พัฒนา เพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับ งานพัฒนามัลติมีเดีย ในรูปของ ซอฟต์แวร์ช่วย ในการนำข้อมูล เนื้อหา (Content) เข้าไปเก็บตามสื่อรูปแบบต่างๆ ที่วางไว้ เพื่อนำเสนอ เช่น การใช้เครื่องมือต่างๆ หรือการสร้างเครื่องมือใหม่ๆ
เทคโนโลยีกับระบบการศึกษา เป็นการศึกษาเพื่อนำเอา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับ ระบบการศึกษา ในรูปของ CAI - Computer Aided Instruction, CBT - Computer Based Training ตลอดจนงานประชาสัมพันธ์ โฆษณา สร้างภาพยนตร์
เทคโนโลยีการผลิต (Publishing Technology) เป็นการนำเอามัลติมีเดีย มาใช้ด้านงานพิมพ์ เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับงานพิมพ์ มีรูปแบบที่โดดเด่น และนำเสนอ หรือพิมพ์ลงสื่อได้หลากรูปแบบ เช่น งาน DTP - Desktop Publishing, CD-ROM Title & Publishing
เทคโนโลยีการกระจาย (Broadcasting & Conferencing) ส่งเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูล เผยแพร่สัญญาณ เช่น Conference, Multicasting Backbone เป็นต้น
เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล (Storage Technology) เนื่องด้วยข้อมูลด้านมัลติมีเดีย มักจะมีขนาดโต ทำให้ต้องเกี่ยวข้องกับสื่อบันทึกข้อมูลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อ รูปแบบการบีบอัดข้อมูล รูปแบบการบันทึกข้อมูล
เทคโนโลยี WWW & HyperText โดยจะช่วยให้เกิดการเผยแพร่สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบที่นิยมมากที่สุด และเร็วที่สุด ผ่านระบบ WWW และมีระบบโต้ตอบด้วยเทคโนโลยี HyperText & HyperMedia
เทคโนโลยีคลังข้อมูล (Media Archives) ซึ่งเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และการเรียกค้นภายหลัง เช่น Photo & Image Server, AVI archives
เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนประกอบที่สำคัญกับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ซึ่งจะช่วยให้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
กราฟิก (Graphics)
ภาพกราฟิก (Graphics) เป็นสื่อในการนำเสนอที่ดี เนื่องจากมีสีสัน มีรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถสื่อความหมายได้กว้าง ประกอบด้วย
ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Flash
HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)
สำหรับการจัดหาภาพ หรือเตรียมภาพ ก็มีหลายวิธี เช่น การสร้างภาพเอง ด้วยโปรแกรมสร้างภาพ เช่น Adobe Photoshop, PhotoImpact, CorelDraw หรือการนำภาพจากอุปกรณ์ เช่น กล้องถ่ายภาพดิจิตอล, กล้องวิดีโอดิจิตอล หรือสแกนเนอร์
วิดีโอ (Video)
วิดีโอ นับเป็นสื่ออีกรูปหนึ่งที่นิยมใช้กับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เนื่องจากสามารถแสดงผลได้ทั้งภาพเคลื่อนไหว และเสียงไปพร้อมๆๆ กัน ทำให้เกิดความน่าสนใจในการนำเสนอ ทั้งนี้มีหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
Video file format
เป็นรูปแบบที่ใช้บันทึกภาพและเสียงที่สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้เลย มีหลายรูปแบบได้แก่
AVI (Audio / Video Interleave) เป็นฟอร์แมตที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เรียกว่า Video for Windows มีนามสกุลเป็น .avi ปัจจุบันมีโปรแกรมแสดงผลติดตั้งมาพร้อมกับชุด Microsoft Windows คือ Windows Media Player
MPEG - Moving Pictures Experts Group รูปแบบของไฟล์ที่มีการบีบอัดไฟล์ เพื่อให้มีขนาดเล็กลง โดยใช้เทคนิคการบีบข้อมูลแบบ Inter Frame หมายถึง การนำความแตกต่างของข้อมูลในแต่ละภาพมาบีบ และเก็บ โดยสามารถบีบข้อมูลได้ถึง 200 : 1 หรือเหลือข้อมูลเพียง 100 kb/sec โดยคุณภาพยังดีอยู่ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย MPEG-1 มีนามสกุล คือ .mpg
Quick Time เป็นฟอร์แมตที่พัฒนาโดยบริษัท Apple นิยมใช้นำเสนอข้อมูลไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต มีนามสกุลเป็น .mov
บทบาทของสื่อมัลติมีเดีย
เนื่องจากประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย ที่สามารนำเสนอเนื้อหาได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประจวบเหมาะสมระบบติดต่อผู้ใช้ (GUI: Graphics User Interface) ที่ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งาน สร้างสรรค์งาน ทำให้บทบาทของสื่อฯ มีมากขึ้นตามลำดับ มีการนำสื่อมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ มากมาย เช่น การเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
ปัจจุบันเทคโนโลยีเครือข่ายและการสื่อสาร ยิ่งส่งเสริมให้การประยุกต์ใช้สื่อมัลติมีเดียได้รับการพัฒนาอย่างกว้าง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้กว้างไกล และรวดเร็ว มีผู้คนตอบสนองการใช้สื่อมัลติมีเดียมากขึ้น สื่อการเรียนการสอนระบบมัลติมีเดียผ่านเว็บ, ระบบประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับเทคโนโลยีที่ก้าวเกินกว่าจะคาดได้ถึง หรือไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้
ประโยชน์ของมัลติมีเดีย
มัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากยิ่งขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้
- เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
- นำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เช่น บทเรียนมัลติมีเดีย
- สร้างสื่อเพื่อความบันเทิง
- สร้างสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์
- นอกจากประโยชน์ดังกล่าว เทคโนโลยีมัลติมีเดีย ยังมีบทบาทต่อ
เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
เนื่องจากมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีของสื่อหลากหลายสื่อ ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้
เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง (Audio Technology) ซึ่งรวมทั้งเสียงพูด และเสียงดนตรี ตั้งแต่การประมวลผล การแสดงผล การจัดการต่างๆ เช่น การบีบอัดสัญญาณ การสื่อสาร การส่งสัญญาณ
เทคโนโลยีเกี่ยวกับวีดิโอ (Video Technology) อันได้แก่ การจัดเก็บ การประมวลผล การปรับแต่ง การใช้งาน การเรียกหา สืบค้น การส่งกระจาย มาตรฐานการบีบอัดสัญญาณ การเข้าและถอดรหัส การส่งข้อมูล การทำงานร่วมกับสื่ออื่นๆ
เทคโนโลยีรูปภาพ (Image Technology) เป็นการพัฒนา และประยุกต์ใช้ภาพ การจัดการฟอร์แมต คลังภาพ การค้นหา การสร้าง และตกแต่งภาพ
เทคโนโลยีข้อความ (Text Technology) เกี่ยวกับข้อความหรือ ตัวอักษร ทั้งการใช้ และลักษณะรูปแบบของ ข้อความแบบต่างๆ
เทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ (Animation & 3D Technology) เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการแสดงผล ด้นภาพเคลื่อนไหว ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ การสร้างภาพเสมือนจริง (VR - Visual Reality) การสร้าง ตกแต่ง ประมวลผล การใช้งาน
เทคโนโลยีการพัฒนา (Authoring System Technology) คือ เทคโนโลยีที่ได้พัฒนา เพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับ งานพัฒนามัลติมีเดีย ในรูปของ ซอฟต์แวร์ช่วย ในการนำข้อมูล เนื้อหา (Content) เข้าไปเก็บตามสื่อรูปแบบต่างๆ ที่วางไว้ เพื่อนำเสนอ เช่น การใช้เครื่องมือต่างๆ หรือการสร้างเครื่องมือใหม่ๆ
เทคโนโลยีกับระบบการศึกษา เป็นการศึกษาเพื่อนำเอา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับ ระบบการศึกษา ในรูปของ CAI - Computer Aided Instruction, CBT - Computer Based Training ตลอดจนงานประชาสัมพันธ์ โฆษณา สร้างภาพยนตร์
เทคโนโลยีการผลิต (Publishing Technology) เป็นการนำเอามัลติมีเดีย มาใช้ด้านงานพิมพ์ เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับงานพิมพ์ มีรูปแบบที่โดดเด่น และนำเสนอ หรือพิมพ์ลงสื่อได้หลากรูปแบบ เช่น งาน DTP - Desktop Publishing, CD-ROM Title & Publishing
เทคโนโลยีการกระจาย (Broadcasting & Conferencing) ส่งเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูล เผยแพร่สัญญาณ เช่น Conference, Multicasting Backbone เป็นต้น
เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล (Storage Technology) เนื่องด้วยข้อมูลด้านมัลติมีเดีย มักจะมีขนาดโต ทำให้ต้องเกี่ยวข้องกับสื่อบันทึกข้อมูลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อ รูปแบบการบีบอัดข้อมูล รูปแบบการบันทึกข้อมูล
เทคโนโลยี WWW & HyperText โดยจะช่วยให้เกิดการเผยแพร่สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบที่นิยมมากที่สุด และเร็วที่สุด ผ่านระบบ WWW และมีระบบโต้ตอบด้วยเทคโนโลยี HyperText & HyperMedia
เทคโนโลยีคลังข้อมูล (Media Archives) ซึ่งเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และการเรียกค้นภายหลัง เช่น Photo & Image Server, AVI archives
เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนประกอบที่สำคัญกับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ซึ่งจะช่วยให้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
กราฟิก (Graphics)
ภาพกราฟิก (Graphics) เป็นสื่อในการนำเสนอที่ดี เนื่องจากมีสีสัน มีรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถสื่อความหมายได้กว้าง ประกอบด้วย
ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Flash
HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)
สำหรับการจัดหาภาพ หรือเตรียมภาพ ก็มีหลายวิธี เช่น การสร้างภาพเอง ด้วยโปรแกรมสร้างภาพ เช่น Adobe Photoshop, PhotoImpact, CorelDraw หรือการนำภาพจากอุปกรณ์ เช่น กล้องถ่ายภาพดิจิตอล, กล้องวิดีโอดิจิตอล หรือสแกนเนอร์
วิดีโอ (Video)
วิดีโอ นับเป็นสื่ออีกรูปหนึ่งที่นิยมใช้กับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เนื่องจากสามารถแสดงผลได้ทั้งภาพเคลื่อนไหว และเสียงไปพร้อมๆๆ กัน ทำให้เกิดความน่าสนใจในการนำเสนอ ทั้งนี้มีหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
Video file format
เป็นรูปแบบที่ใช้บันทึกภาพและเสียงที่สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้เลย มีหลายรูปแบบได้แก่
AVI (Audio / Video Interleave) เป็นฟอร์แมตที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เรียกว่า Video for Windows มีนามสกุลเป็น .avi ปัจจุบันมีโปรแกรมแสดงผลติดตั้งมาพร้อมกับชุด Microsoft Windows คือ Windows Media Player
MPEG - Moving Pictures Experts Group รูปแบบของไฟล์ที่มีการบีบอัดไฟล์ เพื่อให้มีขนาดเล็กลง โดยใช้เทคนิคการบีบข้อมูลแบบ Inter Frame หมายถึง การนำความแตกต่างของข้อมูลในแต่ละภาพมาบีบ และเก็บ โดยสามารถบีบข้อมูลได้ถึง 200 : 1 หรือเหลือข้อมูลเพียง 100 kb/sec โดยคุณภาพยังดีอยู่ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย MPEG-1 มีนามสกุล คือ .mpg
Quick Time เป็นฟอร์แมตที่พัฒนาโดยบริษัท Apple นิยมใช้นำเสนอข้อมูลไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต มีนามสกุลเป็น .mov
บทบาทของสื่อมัลติมีเดีย
เนื่องจากประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย ที่สามารนำเสนอเนื้อหาได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประจวบเหมาะสมระบบติดต่อผู้ใช้ (GUI: Graphics User Interface) ที่ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งาน สร้างสรรค์งาน ทำให้บทบาทของสื่อฯ มีมากขึ้นตามลำดับ มีการนำสื่อมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ มากมาย เช่น การเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
ปัจจุบันเทคโนโลยีเครือข่ายและการสื่อสาร ยิ่งส่งเสริมให้การประยุกต์ใช้สื่อมัลติมีเดียได้รับการพัฒนาอย่างกว้าง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้กว้างไกล และรวดเร็ว มีผู้คนตอบสนองการใช้สื่อมัลติมีเดียมากขึ้น สื่อการเรียนการสอนระบบมัลติมีเดียผ่านเว็บ, ระบบประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับเทคโนโลยีที่ก้าวเกินกว่าจะคาดได้ถึง หรือไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)